กิ๊ฟ

กิ๊ฟ

ผู้เยี่ยมชม

yxngximcu@gmail.com

  สรรพคุณและประโยชน์ของต้นฝิ่นต้น (398 อ่าน)

11 มิ.ย. 2563 13:59



สรรพคุณและประโยชน์ของต้นฝิ่นต้น

ลักษณะของฝิ่นต้น

ต้นฝิ่นต้น จัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลักษณะของลำต้นคล้ายกับต้นมะละกอ แต่มีขนาดเล็กและเป็นแกนแข็งกว่า โดยลำต้นจะมีความสูงได้ประมาณ 2-3 เมตร และอาจสูงได้ถึง 6 เมตร ลำต้นค่อนข้างอวบน้ำ เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทา มีกระและจุดเล็ก ๆ มียางสีขาว รากมีลักษณะเป็นหัว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ต้องการน้ำและความชื้นในระดับปานกลาง

ใบฝิ่นต้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ก้านใบยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ลักษณะของใบเป็นรูปกลม ขอบใบลึกเป็นแฉกเว้าลึกลักษณะคล้ายฝ่ามือ ประมาณ 9-11 แฉก ในขอบใบที่เป็นแฉกจะหยักเป็นซี่ฟันช่วงกลางขอบใบ ปลายเป็นติ่งแหลมถึงยาวคล้ายหาง ปลายใบแหลม พบบ้างมีรยางค์แข็ง ใบมีขนาดประมาณ 10-30 เซนติเมตร แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน หลังใบเรียบ ก้านใบยาวกลม หูใบแยกเป็นง่ามรูปขนแข็ง ยาว 2 เซนติเมตร

ดอกฝิ่นต้น ออกดอกเป็นช่อแบนแน่นติดกันแบบช่อเชิงหลั่น โดยจะออกที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาวได้ถึง 23 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็กติดกันแน่น ดอกมีสีแดงสด ดอกเป็นแบบแยกเพศ ลักษณะของดอกคล้ายกับดอกเถาคันหรือดอกกะตังบาย กลีบเลี้ยงในดอกเพศผู้จะเป็นรูปไข่กลับกว้าง ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกแยกจากกัน ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร สีแดงสด เกสรเพศผู้มี 8 อัน ก้านเกสรแยกกัน ส่วนกลีบดอกในดอกเพศเมียจะยาวได้ถึง 9 มิลลิเมตร ยอดเกสรเพศเมียเป็นรูปกระจุก เป็นพู 2 พู

ผลฝิ่นต้น ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม มีพู 3 พู คล้ายผลสลอดหรือผลปัตตาเวีย แต่จะมีขนาดใหญ่กว่า แต่ละพูจะมีลักษณะเป็นสัน ผลมีขนาดประมาณ 3 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว พอแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีออกเหลืองหม่น มีลายสีน้ำตาล มีจุกขั้วขนาดเล็ก แต่ละพูมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดมีขนาดยาวประมาณ 1.7-2 เซนติเมตร

สนับสนุนบทความโดย lucaclub88

เว็บบาคาร่า ออนไลน์ ที่ดีที่สุด

สรรพคุณของฝิ่นต้น

เปลือกต้นมีรสฝาดเมาร้อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมและโลหิต (เปลือกต้น)

ใช้เป็นยาคุมธาตุ (เปลือกต้น)

เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้อาการลงแดง (เปลือกต้น)

เปลือกต้นใช้ปรุงเป็นยาแก้อาเจียน (เปลือกต้น) ส่วนเมล็ดมีรสเมาเบื่อ มีสรรพคุณทำให้อาเจียนเช่นกัน แต่มีอันตรายมากจนอาจใช้เป็นยาเบื่อได้ จึงไม่นิยมใช้กัน(เมล็ด)

เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้บิดปวดเบ่ง แก้ท้องเสีย ท้องร่วง (เปลือกต้น)

รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคลำไส้ (ราก)

รากใช้ต้มกับน้ำดื่มช่วยย่อยอาหาร (ราก)

ใบมีรสเมา ใช้ต้มกินเป็นยาถ่าย (ใบ) ส่วนเมล็ดมีน้ำมันประมาณ 30% ใช้กินเป็นยาถ่ายอย่างแรง (เมล็ด)

เมล็ดใช้บีบเอาน้ำมัน ใช้ทั้งภายในและภายนอกเป็นยาทำให้แท้งบุตร (เมล็ด)

น้ำยางใช้ใส่แผลสดเป็นยาช่วยสมานแผล ใช้ทาแผลปากเปื่อย แผลมีดบาด แผลอักเสบเรื้อรัง จะช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น (น้ำยาง)

ใบใช้เป็นยาฆ่าหิด กำจัดพยาธิผิวหนัง ใช้สระผมแก้เหา (ใบ)

เปลือกต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเมื่อยตามข้อ ปวดเส้นเอ็น (เปลือกต้น)

สมุนไพรฝิ่นต้นจัดอยู่ในพิกัดตรีเกสรมาศ (ตำรับยาที่ประกอบไปด้วย เปลือกฝิ่นต้น เกสรบัวหลวง และลูกมะตูมอ่อน มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ คุมธาตุ แก้ท้องร่วง) และพิกัดตรีเกสรเพศ (ตำรับยาที่ประกอบไปด้วย เปลือกฝิ่นต้น เกสรบัวหลวงขาว และเกสรบัวหลวงแดง มีสรรพคุณเป็นยาคุมธาตุ แก้ไข้เพื่อปถวีธาตุกำเริบ ทำให้ตัวเย็น แก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน) (ข้อมูลจาก : mhoya.9nha.com)

พิษของฝิ่นต้น

ส่วนที่มีพิษ : เมล็ดและน้ำยางมีพิษ โดยเมล็ดจะมีฤทธิ์ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร โดยสารที่เป็นพิษคือสาร Clacium Oxalate

อาการของพิษ : เมล็ดเมื่อรับประทานจะทำให้เกิดอาการคัน รู้สึกปวดแสบปวดร้อน ปากบวมพอง เยื่อบุแกม ลิ้นเพดาน และหนาบวม น้ำลายไหล บริเวณที่บวมพองอาจมีเม็ดตุ่มเกิดขึ้น ลิ้นเคลื่อนไหวลำบาก กลืนอาหารยาก พูดไม่ถนัด มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ทำให้กระเพาะอักเสบ ปวดท้อง อาจมีอาการชา แขนขาอาจเป็นอัมพาตได้ถึง 24 ชั่วโมง และอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 7 วัน การหายใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ ถ้ารับประทานเพียง 3 เมล็ด อาจทำให้เสียชีวิตได้ ส่วนน้ำยางเมื่อถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง บวมแดงแสบร้อน

การรักษาพิษ : หากรับประทานเมล็ดเข้าไป ก่อนนำส่งโรงพยาบาลให้ดื่มนมหรือผงถ่าน (Activated charcoal) เพื่อช่วยลดการดูดซึมของสารพิษ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อล้างท้องทันที และให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดเพื่อป้องกันการหมดสติและอาการช็อกที่เกิดจากการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ ในรายที่มีอาการคล้ายสาร atropine เช่น ในกลุ่มสารพิษ curcin ให้สารแก้พิษ (atropine antagonists) เช่น physostigmine salicylate ทางเส้นเลือด ส่วนในกรณีอื่น ๆ ให้รักษาไปตามอาการ เช่น การให้ morphine sulfate เพื่อลดอาการปวด เป็นต้น ส่วนน้ำยางหากถูกผิวหนังให้ล้างน้ำยางออกโดยใช้สบู่และน้ำ และใช้ยาทาสเตียรอยด์ แต่หากรับประทานเข้าไปให้เอาส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมออกโดยใช้ผงถ่าน ทำให้อาเจียน หรือล้างท้อง และรักษาไปตามอาการ

ประโยชน์ของฝิ่นต้น

รากมีรสเฝื่อนคล้ายรากมันสำปะหลัง สามารถนำมาเผาแล้วกินได้

เมล็ดใช้เป็นยาเบื่อ บ้างนำเมล็ดมาใช้เป็นยาเบื่อปลา ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า ต้นมีสารจำพวกซาโปนิน สามารถนำมาใช้เบื่อปลาได้เช่นกัน

ใบใช้ในการย้อมสีเส้นไหม โดยใบสด 15 กิโลกรัม สามารถย้อมสีเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม โดยสีที่ได้คือสีน้ำตาลเขียว

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท

กิ๊ฟ

กิ๊ฟ

ผู้เยี่ยมชม

yxngximcu@gmail.com

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com