กิ๊ฟ

กิ๊ฟ

ผู้เยี่ยมชม

yxngximcu@gmail.com

  ลิ้นมังกร (565 อ่าน)

3 มิ.ย. 2563 13:14



ลิ้นมังกร จัดเป็นไม้ใบประดับ และไม้มงคล ที่นิยมเพื่อการประดับใบ เนื่องจาก ใบมีลักษณะเรียวยาวคล้ายหอก มีทั้งใบสั้น และใบยาว ใบมีจุดด่างของหลายสีอาทิ สีเขียวเข้ม สีเขียวอ่อน สีเขียวอมเทา และสีเหลือง ทำให้แลดูสวยงาม และเป็นที่แปลกตาเมื่อพบเห็น ต้นลิ้นมังกร เป็นชื่อเรียกของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวในกลุ่มของลิ้นมังกรซึ่งมีหลายชนิด แต่จะมีลักษณะเด่นที่ใบเรียวยาวคล้ายหอก ทั้งชนิดเรียวยาวมาก ยาวปานกลาง และสั้น ส่วนปลายใบมีทั้งชนิดที่ปลายใบแหลม และมีหนาม ปลายใบแหลมแต่ไม่มีหนาม และปลายใบมน นอกจากนั้น ลิ้นมังกรยังถูกนำไปเรียกพืชที่มีลักษณะใบคล้ายกัน แต่จัดอยู่ในกลุ่มของกล้วยไม้ เช่น ลิ้นมังกรใบจุด เป็นต้น รวมถึงใช้เรียกพืชบางชนิดที่จัดอยู่ในกลุ่มของกระบองเพชร

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น

ลำต้นของลิ้นมังกรที่พบเห็นเหนือดินจะเป็นลำต้นเทียมหรือที่เรียกว่า ใบลิ้นมังกร ส่วนลำต้นที่แท้จริงจะเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน บางชนิดมีลำต้นหรือเหง้าเป็นแท่งกลมแตกแขนงออกเป็นแง่งหลายแง่ง บางชนิดมีลำต้นเป็นหัวกลม ซึ่งหัวหรือเหง้าจะแทงใบออกเป็นใบเดี่ยวชูขึ้นเหนือดิน

ใบ

ใบของลิ้นมังกรมีลักษณะแตกต่างกัน ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ใช้จำแนกชนิดหรือสายพันธุ์ของลิ้นมังกร ใบของลิ้นมังกรบางชนิดมีลักษณะแบนเรียบ มีทั้งใบเรียวยาว ใบเรียวสั้น ปลายใบมน และปลายใบมีหนามแหลมหรือปลายใบแหลมไม่มีหนาม และบางชนิดมีลักษณะทรงกลมที่อวบน้ำ หรือใบแบนที่ห่อ และอวบเป็นทรงกลม ซึ่งส่วนมากจะมีลายหรือจุดประกระจายทั่วใบ อาทิ จุดประหรือลายสีขาว สีเขียวอมเทา สีเทา และสีเหลือง เป็นต้นดอก

ดอกของลิ้นมังกรจะออกเป็นช่อ มีก้านช่อดอกยาว มีดอกเรียงซ้อนกันจนถึงปลายช่อ ดอกส่วนมากมีสีขาว

สนับสนุนบทความโดย lucaclub88

เว็บบาคาร่า ออนไลน์ที่ดีที่สุด

เมล็ด

เมล็ดของลิ้นมังกรมักไม่ค่อยพบ เนื่องจากกว่าจะติดดอกได้ก็ต่อเมื่อต้นมีอายุมาก และดอกส่วนมากเป็นดอกหมัน

สายพันธุ์ลิ้นมังกร (รวมสายพันธุ์ในกลุ่มลิ้นมังกร และกล้วยไม้)

– ลิ้นมังกรขอบเหลืองใบยาว (ใบแบนยาว กลางใบด่าง ขอบสีเหลือง)

– ลิ้นมังกรขอบเหลืองใบสั้น (ใบแบนสั้น กลางใบเขียว ขอบสีเหลือง)

– ลิ้นมังกรลายด่าง/ลิ้นมังกรพื้นเมือง (ใบแบนยาวมีด่างทั่วใบ ใบไม่มีขอบสี)

– ลิ้นมังกรลายด่างแคระ (ใบแบนสั้นมีด่างทั่วใบ ใบไม่มีขอบสี)

– ลิ้นมังกรใบกลม (ใบกลม เรียวยาว )

– ลิ้นมังกรเขี้ยวหมู (ใบแบนสั้น ใบด่างขอบใบไม่มีสี)

– ลิ้นมังกรเจดีย์หยก (ใบแบนสั้น ใบสีเขียวเข้ม ไม่มีลายประ แตกใบเรียงถี่ขึ้นสูงจนมีรูปทรงเป็นเจดีย์)

– ลิ้นมังกรครีบปลาวาฬด่าง (ใบแบนสั้น แผนใบกว้าง ปลายใบแหลม มีลายสีเขียวแกมสีเหลืองในแนวตั้งของใบ)

– ลิ้นมังกรใบจุด (ใบแบนสัน ปลายใบมน มีจุดสีขาวทั่วใบ จัดอยู่ในกลุ่มของกล้วยไม้ )

– ฯลฯประโยชน์

1. เนื่องจากใบลิ้นมังกรเรียวยาวคล้ายดาบหรือหอก ใบมีจุดเป็นด่างประทั่วใบ ทำให้แลดูสวยงาม และแปลกตาผู้ที่พบเห็นจนกลายเป็นไม้ประดับใบที่นิยมปลูกชนิดหนึ่ง

2. ลิ้นมังกรนิยมปลูกเป็นไม้มงคล เนื่องจากลักษณะใบของลิ้นมังกรที่มีรูปร่างคล้ายหอก ทำให้มีความเชื่อว่า หอกนี้ เป็นหอกของพระอินทร์หรือเทวดาที่จะช่วยปกป้องภัยอันตรายต่างๆไม่ให้กล้ำกายเข้าใกล้คนในครอบครัว

สรรพคุณลิ้นมังกร

ใบหรือเหง้าของลิ้นมังกรยังไม่มีการศึกษาสรรพคุณที่แน่ชัด แต่ใบของลิ้นมังกรเกือบทุกชนิดมีรสขม ซึ่งจากการรวบรวมเอกสาร และการนำเสนอในเว็บไ๙ต์ต่าง พบว่า ใบลิ้นมังกรมีสรรพคุณ ดังนี้

– ทำให้ชุ่มคอ แก้ไอ และขับเสมหะ

– ลดอาการไข้ และเป็นหวัด

– ใบนำมาบดใช้ประคบแผลกัดต่อยของแมลง ช่วยลดอาการปวด

– ใบนำมาบดใช้ประคบห้ามเลือดจากบาดแผล

– ใบใช้บดหรือบี้ทารักแผล ทำให้แผลหายเร็วการปลูกลิ้นมังกร

ลิ้นมังกรนิยมปลูกทั้งในแปลงจัดสวน และการปลูกในกระถาง ซึ่งนิยมขยายพันธุ์ด้วย 2 วิธี คือ การขยายพันธุ์แบบปักชำใบ และการขยายพันธุ์แบบแยกเหง้าปลูก แต่ที่นิยมที่สุดจะเป็นการปักชำใบ เนื่องจาก สะดวก รวดเร็ว และขยายพันธุ์ได้ครั้งละจำนวนมาก

การปลูกในแปลงหรือปลูกในกระถางนั้น สามารถปลูกได้ทั้งในที่ร่ม และที่กลางแจ้ง เพราะลิ้นมังกรเป็นพืชที่เติบโตได้ดีทั้งที่อยู่ในแสงน้อย และกลางแจ้ง แต่ลิ้นมังกรบางชนิดที่มีลักษณะอวบน้ำนั้น มักจะไม่ชอบแสงแดดจัด เพราะน้ำในใบที่มีมากจะร้อนทำให้เกิดอาการใบลวกได้ง่าย

การเตรียมดิน

การเตรียมดินสำหรับการปลูกในแปลง มักไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก เนื่องจาก จะใช้ดินในแปลงเป็นจุดปลูก แต่จะต้องทำการกำจัดวัชพืช และพรวนด้วย พร้อมกับใส่ปุ๋ยคอกคลุกผสมด้วย ส่วนการปลูกในกระถางซึ่งจะเป็นวิธีที่นิยมมาก จำเป็นต้องเตรียมวัสดุปลูก ด้วยการผสมดิน และทรายร่วมกับวัสดุอินทรีย์อื่นๆ อาทิ แกลบดำ ขุยมะพร้าว เป็นต้น อัตราส่วนผสมดิน:ทราย และวัสดุปลูกที่ 1 : 0.5 : 2 แล้วคลุกผสมให้เข้ากัน ก่อนจะบรรจุใส่กระถาง

วิธีปลูก

– การปลูกด้วยการปักชำใบจะใช้ใบจากต้นแม่ด้วยการตัดใบให้ชิดโคนใบบริเวณหน้าดิน หลังจากนั้นแบ่งใบออกเป็นส่วนๆ ยาวประมาณ 10-15 ซม. และเฉือนโคนท่อนใบให้เฉียงประมาณ 45 องศา แล้วค่อยนำปักเสียบลงในกระถางลึกประมาณ 5-10 ซม. กระถางละ 1-3 ใบ ส่วนการปลูกในแปลง อาจใช้วิธีปลูกปักชำโดยตรง หรือ นำใบที่ปักชำในกระถางที่ติดรากแล้วนำลงปลูกในแปลงอีกครั้ง

– ส่วนการปลูกด้วยการแยกเหง้า จะทำด้วยการขุดเหง้าลิ้นมังกร แล้วตัดแบ่งเหง้าออกเป็นส่วนๆ โดยควรให้เหง้ามีใบติดมาด้วย 1-2 ใบ และให้ตัดเฉือนใบส่วนปลายทิ้งเป็นรูปปากฉลามให้เหลือใบยาวประมาณ 20 ซม. ส่วนใบที่ตัดทิ้งให้นำมาปักชำต่อได้

การดูแลลิ้นมังกร

หลังจากการปลูก ให้รดน้ำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง พอให้หน้าดินชุ่ม และให้รดน้ำต่อเนื่องจนใบแตกหน่อใหม่แล้ว และหลังจากที่หน่อ และใบใหม่ยาวได้มากกว่า 5-10 ซม. ค่อยลดปริมาณน้ำที่ให้ลง อาจให้เพียง 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสภาพความชุ่มของหน้าดิน

ส่วนการใส่ปุ๋ยนั้น ไม่จำเป็นต้องใส่มาก เพราะพืชชนิดนี้ไม่ต้องการธาตุอาหารมาก เพียงให้ปุ๋ยคอกเสริมเป็นประจำทุกๆ 2-3 เดือน ก็เพียงพอแล้ว และอาจให้ปุ๋ยเคมีร่วม เช่น สูตร 24-12-12 เพื่อเร่งการเติบโตของใบร่วมด้วย

กิ๊ฟ

กิ๊ฟ

ผู้เยี่ยมชม

yxngximcu@gmail.com

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com