เดลี่ ฟาน
tomtamzaza37@gmail.com
ความหมายของการแกะสลัก (3266 อ่าน)
19 พ.ค. 2563 09:42
การแกะสลัก จัดเป็นศิลปะประเภทหนึ่งที่รวมอยู่ในสาขาประติมากกรรม แต่ที่แตกต่างก็คือ กรรมวิธีของการแกะสลักคือการเฉือนออก และเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างหนึ่ง เพราะนอกจากจะทำรายได้ให้กับผู้ผลิตแล้วยังเป็นอุตสาหกรรมที่แสดงออกถึงความมีศิลปะอันประณีตของชาติไทยอีกด้วย
การแกะสลัก (Carving) เป็นเทคนิคการสร้างสรรค์งานประติมากรรมมาแต่โบราณ ในการสร้างสรรค์จะต้องวางแผนงานไว้ก่อน เพราะการแกะสลักออกไปแล้ว ไม่สามารถจะเพิ่มเข้าไปใหม่อีกได้ เพราะวัสดุที่ใช้แกะสลักนั้นเป็นชนิดของแข็ง ได้แก่ หิน ไม้ ส่วนในการศึกษาของนักเรียนระดับนี้นั้น อาจจะใช้วัสดุจำพวกไม้เนื้ออ่อน สบู่ ปูนปลาสเตอร์ ผัก ผลไม้ เช่น มัน เผือก มะละกอ เป็นต้น
การแกะสลักผักเป็นศิลปะที่บรรพบุรุษของไทยได้สร้างสรรค์วิธีการ ตัด แต่ง ปอก หั่น ที่มีความสะดวกในการรับประทานและยังคงความละเอียดอ่อน ประณีต วิจิตรบรรจงไว้ในผลงาน ซึ่งเป็นศิลปะที่มีความเก่าแก่มานาน จากหลักฐานที่กันว่าเริ่มตั้งแต่สมัยสุโขทัย “ในพระราชพิธีจองเปรียง ซึ่งจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 12 เป็นวันนักขัตฤกษ์ ชักโคมลอยโคม ในสมัยนั้นได้มีการประดิษฐ์โคมลอย โดยพระสนมภายในวังต่างคิดค้นประดิษฐ์ให้โคมลอยมีความงดงาม นางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ได้คิดแต่งโคมลอยให้งามประหลาดกว่าโคมของพระสนมทั้งปวง จึงนำผลพฤกษาลดาชาติมาแกะเป็นรูปมยุระคณาวิหคหงส์ ให้จับจิกเกสรบุปผาชาติอยู่ตามกลีบดอกกระมุท เป็นระเบียบเรียบร้อย วิจิตรไปด้วยสีย้อมสดสว่างควรทอดทัศนายิ่งนัก ทั้งเสียบเทียนธูปแล้วประทีปน้ำมันเปรียง เจือไขข้อพระโค” จากข้อความดังกล่าวย่อมเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าการแกะสลักนั้นมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยหรืออาจจะนานกว่านั้นไม่มีใครสามารถบอกเล่าได้ แต่สิ่งที่ปรากฏ ในข้อความนั้นย่อมบ่งบอกถึงการนำวิธีการแกะสลักมาใช้ประโยชน์ในการตกแต่งเพื่อให้เกิดความสวยงามด้วยการอาศัยฝีมือ
สนับสนุนบทความโดย lucabetasia
คือเว็บ บา คาร่าออนไลน์ ที่ดีที่สุด
ประโยชน์ของการแกะสลักวัสดุเนื้ออ่อน
จัดตกแต่งจานอาหาร ประดับโต๊ะอาหารให้สวยงามน่ารับประทาน
แกะสลักดอกไม้ จัดแจกันแทนดอกไม้ได้
ใช้ประดับตกแต่งในงานพิธีต่างๆ
แกะสลักสร้างสรรค์เป็นรูปทรง ลวดลายต่างๆ เป็นของที่ระลึก ของขวัญในวันสำคัญ เช่น วันขึ้นปีใหม่ ฯลฯ
ทำให้เกิดทักษะ มีความเพลิดเพลินแก่ผู้แกะสลัก ทำให้เป็นคนใจเย็นมีความละเอียดอ่อน
เป็นการอนุรักษ์ ศิลปะ วัฒนธรรมไทยเพื่อสืบทอดแก่เยาวชนรุ่นหลังกระตุ้นให้เห็นความสำคัญและรู้คุณค่าของงานแกะสลักผักของไทย
ทำให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นำทักษะการแกะสลักไปประยุกต์ใช้วัสดุอื่นๆ เช่น เทียน ไม้ ดิน ปูน
เดลี่ ฟาน
ผู้เยี่ยมชม
tomtamzaza37@gmail.com