pp
desidakota6@gmail.com
ลีลาวดี (457 อ่าน)
16 พ.ค. 2563 09:05
สนับสนุนบทความคุณภาพโดย lucabetasia
คือเว็ป บาคาร่าออนไลน์ ที่ดีที่สุด
ลั่นทม
หรือลีลาวดีนับว่าเป็นพรรณไม้ที่ทุกคนให้ความสนใจและนิยมปลูกเลี้ยงกันมากขึ้นทุกวัน เป็นเพราะมีดอกที่สวยงาม หลากสี แล้วยังมีกลิ่นหอมอีกด้วย นอกจากนั้นยังปลูกเลี้ยงได้ง่ายในสภาพภูมิอากาศทุกแห่งหนของประเทศไทย ไม่ต้องการการดูแลรักษามากนัก ซ้ำยังขยายพันธุ์ได้ง่ายและรวดเร็วมากอีกด้วย มีการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง ใช้จัดสวนตามรีสอร์ทต่าง ๆ สนามกอล์ฟ สปา สวนสาธารณะ ปลูกเป็นไม้ตามถนน ใช้เป็นไม้กระถาง ดอกใช้ร้อยมาลัย และนำไปสกัดทำเป็นน้ำหอม ทำเครื่องสำอาง ทำสบู่และยากันยุง บางคนก็นำดอกไปทอดรับประทานเป็นผัก และยังมีคุณสมบัติเป็นพืชสมุนไพรอีกด้วย
จึงทำให้กล่าวขานกันว่าเป็นไม้ประดับเงินล้าน นอกจากจะมีการค้าขายกันอย่างคึกคักในประเทศแล้วยังมีการส่งออกสามารถนำเงินเข้าประเทศในปี 2547 มีมูลค่า 6.69 ล้านบาท (กรมวิชาการเกษตร) โดยส่งไปฮ่องกงมากที่สุด รองลงมาคือ จีน สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเยอรมนีเป็นที่น่าเสียดายที่ไม่ทราบมูลค่าการนำเข้าที่แท้จริง แต่ก็คาดว่าเป็นล้าน ๆ บาท เพราะพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีการขายราคาแพง ๆ นั้นเป็นพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ในสถานการณ์ปัจจุบันมีผู้ปลูกเลี้ยงทั้งที่เป็นแบบสมัครเล่นและทำเป็นธุรกิจทั้งรายเล็กและรายใหญ่ ปลูกกันเป็นร้อย ๆ ไร่ก็มีอยู่เยอะ นอกจากนี้ก็ยังมีกลุ่มผู้ส่งออกพร้อมอยู่แล้ว ซึ่งตลาดต่างประเทศต้องการมาก
แต่ปริมาณต้นพันธุ์มีไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงสมควรรีบเร่งในการขยายพันธุ์ให้มีปริมาณที่พอเพียง มีการปลูกเลี้ยงให้ได้ต้นที่มีคุณภาพ สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้อีกประการหนึ่งก็คือการพัฒนาพันธุ์เพื่อสร้างลั่นทมพันธุ์ใหม่ ๆ ให้ทันต่อความต้องการของตลาด และต้องระมัดระวังเรื่องโรคโดยเฉพาะไวรัสเป็นพิเศษลั่นทมทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า จำปาลาว คือ จำปาแห่งภาคอีสาน หรือลาวพุงขาว ทางภาคอีสานเรียกกันว่า จำปาขาว, ทางภาคใต้เรียก จำปาขอมและไม้จีน, ทางภาคกลางเรียกกันว่า ลั่นทม, เขมรเรียกว่า จำไป และจำปาซอ, ชาวมลายูเรียกว่า บุหงากำโพชา และโดยชื่ออื่น ๆ ซึ่งผิดเพี้ยนไปจากนี้เล็กน้อย, ชาวอินเดียเรียกกันหลายชื่อ ได้แก่ แคร์จำปา ซอนจำปา จีนจำปา, พม่าเรียกว่า ต่ายกสกา
ซึ่งแปลตามตัวอักษรมีความหมายว่า จำปาจีน จากชื่อต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้นทำให้พระยาวินิจวนันดรสันนิษฐานไว้ดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ลั่นทมไปจากภาคอีสานหรือแดนลาวพุงขาว ในสมัยที่ขอมมีอำนาจมากที่สุดในสุวรรณภูมิ คือราว 1,100 ปีมาแล้ว และเขมรได้ลั่นทมไปจากอินเดีย ครั้งชาวอินเดียนำเอาวัฒนธรรมของตนเข้าไปในเขมรราว 1,800 ปีมาแล้ว ส่วนทางภาคใต้ของประเทศไทยคงได้ลั่นทมไปจากเขมร ในสมัยที่ขอมมีอำนาจครอบครองถิ่นนั้นด้วยเช่นกัน
สำหรับภาคกลางยากที่จะสันนิษฐานได้ว่า ลั่นทมเข้ามาจากที่ไหน เมื่อใด ซึ่งลั่นทมฟังดูก็เป็นจีนปนเขมรแต่ก็อาจเลือนมาจากคำว่า รันทม ก็ได้ อย่างไรก็ดีเมื่อระลึกถึงการเข้ามาของลั่นทมในกรณีอื่น ๆ แล้วก็น่าจะเชื่อว่าลั่นทมของไทยภาคกลางก็มาจากเขมรเหมือนกัน ไม่โดยทางตรงก็ทางอ้อม แต่ถ้าไม่เป็นเช่นนั้นก็น่าสันนิษฐานต่อไปว่าลั่นทมอาจมาจากประเทศจีน หรือย่างน้อยจีนก็เป็นคนนำเข้ามา ซึ่งทางภาคใต้ก็เรียกว่า ไม้จีน ส่วนมลายู พม่า อินเดีย ก็เรียกชื่อต่าง ๆ แต่เมื่อแปลแล้วก็คือ จำปาจีนหรือดอกไม้จีน สำหรับจีนแต้จิ๋วเองเรียกลั่นทมว่า โคยนึ่งฮวย ซึ่งแปลว่าดอกไข่ไก่เพราะมีสีขาวใจกลางสีเหลือง
สนับสนุนบทความคุณภาพโดย lucabetasia
คือเว็ป บาคาร่าออนไลน์ ที่ดีที่สุด
pp
ผู้เยี่ยมชม
desidakota6@gmail.com