การเลือกซื้อคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศ

Last updated: 21 เม.ย 2563  |  4212 จำนวนผู้เข้าชม  | 

          คอมเพรสเซอร์ (Compressor) หรือจะเรียกกันในชื่ออย่างเป็นวิชาการหน่อยก็คือ “เครื่องอัดไอ” คอมเพรสเซอร์ถือเป็นหัวใจหลักของเครื่องปรับอากาศเลยทีเดียว เพราะหากขาดคอมเพรสเซอร์ไปแล้วในระบบปรับอากาศก็ไม่มีเครื่องอัดน้ำยาแอร์(หรือสารทำความเย็น)ส่งไปจ่ายส่วนทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ เหมือนคนเราหากหัวใจล้มเหลวก็ตาย เครื่องปรับอากาศหากไม่มีคอมเพรสเซอร์แอร์ก็ไม่เย็นเช่นกัน ดังนั้นก็สมแล้วที่คอมเพรสเซอร์มีความสำคัญอย่างมาก

          ในปัจจุบันเทคโนโลยีเครื่องปรับอากาศได้พัฒนาไปมากจากเมื่อก่อนที่คอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศยังเป็นคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ(Reciprocating compressor) ที่มีประสิทธิภาพสูงแต่มีข้อเสียตรงที่กินไฟมาก เสียงดัง แถมยังน้ำหนักมากอีกด้วย จึงมีการพัฒนามาเป็นคอมเพรสเซอร์ที่ประหยัดพลังงานมากขึ้น ทำงานเบากว่า เงียบกว่า ประสิทธิภาพดีกว่านั้นคือ “คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่”(Rotary compresor) แต่ก็ยังมีข้อเสียตรงที่เมื่อต้องการทำความเย็นมากขึ้นคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่นี้กลับกินไฟพอๆกันกับคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบแต่ให้ประสิทธิภาพน้อยกว่าคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ ดังนั้นการพัฒนาเรื่องประสิทธิภาพให้กับคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่จึงเกิดขึ้น และกลายมาเป็นคอมเพรสเซอร์ที่ให้ประสิทธิภาพสูง ประหยัดพลังงาน ทำงานเงียบ ชื่อของมันก็คือ “คอมเพรสเซอร์แบบสโคล”(Scroll compressor) นั้นเป็นการผลิกโฉมของคอมเพรสเซอร์ในเครื่องปรับอากาศเลยก็ว่าได้ ที่การทำงานของคอมเพรสเซอร์แบบสโคลนี้สามารถตอบสนองสิ่งที่คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบและโรตารี่ขาดมารวมกันได้ แถมยังดึงข้อดีของทั้ง 2 แบบมาประยุกต์ใช้ได้อย่างลงตัวด้วย


          หากคุณคิดว่าคอมเพรสเซอร์แบบสโคลนั้นคือสุดยอดคอมเพรสเซอร์ในเครื่องปรับอากาศแล้วล่ะก็ ไม่ผิดหรอกครับ แต่การพัฒนาย่อมไม่มีที่สิ้นสุดเมื่อพลังงานในโลกเรานี้เริ่มน้อยลงทุกทีกระแสการประหยัดพลังงานก็เริ่มต้นขึ้นอย่างช้าๆและทวีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรอิสระมีการตื่นตัวอย่างมากเรื่องการประหยัดพลังงาน ดังนั้นการคิดค้นคอมเพรสเซอร์ที่สามารถทำความเย็นได้อย่างดีแล้ว ยังต้องสามารถประหยัดพลังงานได้อย่างมาก ก็ก่อให้เกิดคอมเพรสที่นิยมอย่างยิ่งยวดในประเทศไทย นั้นคือ คอมเพรสเซอร์แบบอินเวอร์เตอร์(Inverter compressor) คอมเพรสเซอร์แต่ละชนิดที่กล่าวมาในตอนต้นนั้นอาจจะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิด แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือ คอมเพรสเซอร์จะตัดต่อหรือทำงาน-หยุดทำงานด้วยเทอร์โมสตัสเป็นแบบ ตัด-ต่อ-ตัด-ต่อ- และทุกครั้งที่มีการสตาร์ทคอมเพรสเซอร์จะใช้พลังงานอย่างมาก ดังนั้นคอมเพรสเซอร์แบบอินเวอร์เตอร์ใช้ชุดควบคุมแบบอิเล็กทรอนิกส์ในการส่งการให้คอมเพรสเซอร์สตาร์ทและทำงานไป และเมื่อเทอร์โมสตัสวัดอุณหภูมิได้ค่าที่ตั้งไว้เพื่อให้คอมเพรสเซอร์หยุดทำงาน ชุดควบคุมแบบอิเล็กทรอนิกส์จะสั่งการให้อินเวอร์เตอร์คอมเพรสเซอร์ลดรอบในการทำงานให้ช้าลงและใช้พลังงานน้อยลงแต่จะไม่หยุดการทำงานของคอมเพรสเซอร์ทันทีและสตาร์ทใหม่เมื่อเทอร์โมสตัสสั่งการเหมือนคอมเพรสเซอร์ชนิดอื่น และคอมเพรสเซอร์แบบอินเวอร์เตอร์นี้ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง ต่างกับคอมเพรสเซอร์แบอื่นๆที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ

Powered by MakeWebEasy.com